5 เหตุผลที่คุณต้องโหลดแอปฯ ทางรัฐ บริการใหม่จากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐเพื่อประชาชน

จะดีกว่าไหม❓ หากเราสามารถติดต่อราชการได้ที่ 🤳 เเอปฯ ทางรัฐ แอปฯ เดียว
💁‍♂️ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องใช้บริการบ่อย ๆ แล้วต้องเดินทางไปติดต่อด้วยตนเอง เราขอเสนอทางเลือกใหม่ให้กับคุณ 👉 “ทางรัฐ” แอปฯ ที่รวมธุรกรรมหน่วยงานรัฐให้คุณโหลดติดมือถือไว้ ช่วยย่นระยะเวลา และช่วยให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น 🙋‍♂️🙋 พร้อม 5 เหตุผลที่คุณต้องโหลดแอปฯ ทางรัฐ บริการใหม่จากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐเพื่อประชาชน 👪
✔ เข้าถึงบริการของรัฐที่หลากหลายผ่านช่องทางเดียว
✔ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
✔ สามารถติดต่อรัฐได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านโทรศัพท์มือถือ
✔ ประหยัดเวลา สะดวก และรวดเร็ว
✔ เช็กสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่พึงได้อย่างเท่าเทียม
✌️ เหตุผลดี ๆ แบบนี้ ไม่โหลดแอปฯ ทางรัฐ ไม่ได้แล้ว ‼
⬇ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ได้ที่
#ทางรัฐ #DGA #สพร #สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล #สํานักงานกพร

Share:



ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดออกออกแบบตราสัญลักษณ์สําหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี พ.ศ. 2565​

🏆🏆ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 450,000 บาท ‼‼

กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และสํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญเยาวชนไทย ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดออกแบบระดับเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 5 : การออกแบบตราสัญลักษณ์สําหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี พ.ศ. 2565​ ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 450,000 บาท
 
คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
เยาวชนไทย อายุไม่เกิน 25 ปี (อายุครบ 25 ปี ก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2564) โดยสามารถสมัครเป็นแบบเดี่ยวหรือแบบคู่
 
โจทย์การประกวด
ออกแบบตราสัญลักษณ์สําหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี พ.ศ. 2565 โดยมีข้อ กําหนดดังนี้
ตราสัญลักษณ์ ประกอบด้วยภาพสัญลักษณ์ และตัวอักษร คําว่า APEC 2022 Thailand
ตราสัญลักษณ์จะต้องสื่อสารแนวคิดโดยภาพรวม ดังนี้
ประเด็นสําคัญที่ไทยต้องการผลักดัน (Priorities) มี 3 ด้าน ได้แก่
การอํานวยความสะดวกการค้าและการลงทุน โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ
การฟื้นฟูความเชื่อมโยงในเอเปค โดยเฉพาะการเดินทางและการท่องเที่ยว
 
การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี ดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
 
สาขาที่ไทยควรให้ความสําคัญ (Key Areas) มี 5 เรื่อง ได้แก่
การส่งเสริมการค้าและการลงทุน
การก้าวไปสู่สังคมดิจิทัล
สุขภาพและ สุขภาวะที่ดี (well-being)
ความมั่นคงทางอาหารและการเกษตร
การเจริญเติบโต อย่างครอบคลุม ยังยืนและมีความรับผิดชอบ
ตราสัญลักษณ์ต้องมีรูปแบบที่ทันสมัย สะท้อนความเป็นผู้นําและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และความเป็นไทย
 
การออกแบบใช้สีได้ไม่เกิน 4 สี โดยคํานึงถึงความยืดหยุ่นในการใช้งานในสื่อที่หลากหลาย เช่น การทําตราประทับหรือการพิมพ์แบบสีเดียว การพิมพ์แบบซิลค์สกรีน การปักผ้า เป็นต้น
 
ออกแบบตราสัญลักษณ์ในขนาดที่เหมาะสม จัดวางลงในกระดาษขนาด A4 (21 x 29.7 ซม.) ในกรณีที่ออกแบบในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้บันทึกเป็นไฟล์ jpg โหมดสี RGB ความละเอียด 300 ppi หรือในกรณีวาดด้วยมือลงในกระดาษขนาด A4 ให้สแกนภาพหรือถ่ายภาพเป็นไฟล์ .jpg เพื่อใช้อัปโหลด ในเว็บสมัครและส่งผลงานเข้าประกวด
 
การส่งผลงานเข้าประกวด
ผู้เข้าประกวดสามารถส่งผลงานได้มากกว่า 1 ผลงาน
สมัครและส่งผลงานเข้าประกวด ได้ทาง https://forms.gle/nP1n2Jys9cAPGqjj8 โดยกรอก ข้อมูลให้ครบถ้วน และอัปโหลดผลงานเป็นไฟล์ .jpg เท่านั้น หากต้องการส่งผลงานมากกว่า 1 ผลงาน จะต้องทําการสมัครและอัปโหลดผลงานใหม่อีกครั้ง
 
ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น รวมทั้งไม่เคยส่งเข้า ประกวดในการประกวดอื่นใดมาก่อน
กําหนดการ
 
สมัครและส่งผลงานทางเว็บไซต์ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 – 30 มิถุนายน 2564
จัดแถลงข่าว/ชี้แจงโจทย์ วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ณ กระทรวงการต่างประเทศ และ ถ่ายทอดสดออนไลน์ทาง Facebook ของกระทรวงการต่างประเทศ และ NYDAWARDS
คณะกรรมการคัดเลือกผลงาน 10 ผลงานเพื่อเข้ารอบคัดเลือก วันที่ 9 กรกฎาคม 2564
ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลงานสู่รอบสุดท้าย วันที่ 16 กรกฎาคม 2564
คณะกรรมการคัดเลือกผลงาน 5 ผลงานเพื่อเข้ารอบสุดท้าย วันที่ 30 กรกฎาคม 2564
คณะกรรมการคัดเลือกนําเสนอ 5 ผลงานต่อคณะกรรมการระดับชาติเพื่อตัดสินรางวัลชนะเลิศ ในเดือนสิงหาคม 2564 โดยผู้ชนะเลิศการประกวดจะต้องปรับปรุงผลงานขั้นสุดท้ายตามข้อคิดเห็นของ กระทรวงการต่างประเทศและคณะกรรมการระดับชาติ และส่งมอบตราสัญลักษณ์พร้อมคู่มือการใช้งาน ให้กระทรวงการต่างประเทศ
 
ติดต่อสอบถาม
ข่าวประชาสัมพันธ์ : K. Arwin Intrungsi

Share:



“รู้แล้ว…อย่าเฉย”‼️ พบเห็นเด็กและเยาวชนที่ต้องการความช่วยเหลือ โปรดแจ้งทันทีผ่าน Mobile Application “คุ้มครองเด็ก”📲📲

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 เวลา 09.30 น. ณ Casean Ratchada กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน จัดเสวนา เรื่อง “การคุ้มครองเด็กในยุคดิจิทัล”และเปิดตัว Mobile Application “คุ้มครองเด็ก” เป็นแอปพลิเคชันแจ้งเหตุการณ์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหา บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์โดยผ่านเว็บไซต์

นางสุภัชชา สุทธิพล อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวว่า Mobile Application “คุ้มครองเด็ก”เป็นหนึ่งในนวัตกรรมการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน ภายใต้โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการคุ้มครองเด็ก
(Child Protection Information System – CPIS) ระบบ CPIS ได้นำระบบดิจิทัลเข้ามาสนับสนุนการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์ และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ทำให้เด็กเยาวชนได้รับการปกป้องคุ้มครองและช่วยเหลือตามมาตรฐานการบริการด้านการคุ้มครองเด็ก นำไปสู่การยกระดับบริการคุ้มครองเด็กของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

นางสุภัชชา กล่าวเพิ่มเติมว่า Mobile Application “คุ้มครองเด็ก” เป็นการเพิ่มช่องทางการแจ้งเหตุเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยดาวน์โหลดแอปฯ และติดตั้งลงบนโทรศัพท์เคลื่อนที่รองรับระบบ Android และ iOS ผ่าน Google Play หรือ App Store จุดเด่นของแอปฯ สามารถระบุพื้นที่เกิดเหตุ ภาพถ่าย และติดตามการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานได้ด้วย โดยข้อมูลจะถูกส่งต่อไปยังระบบการจัดการรายกรณี (Case Management) ซึ่งมีบ้านพักเด็กและครอบครัวในทุกจังหวัด และสถานรองรับเด็กของกรมกิจการเด็กและเยาวชน 30 แห่ง เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการช่วยเหลือ ประชาชน จึงมั่นใจได้ว่าเด็กและเยาวชนทุกรายจะได้รับการประสานส่งต่อการช่วยเหลือร่วมกับหน่วยงานและเครือข่ายในพื้นที่ และมีการกำกับ ติดตาม และรายงานการช่วยเหลือโดยดิจิทัลเช่นกัน

กรมกิจการเด็กและเยาวชน มุ่งมั่นพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการสำหรับเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่องและกำหนดให้ “การคุ้มครองเด็กและเยาวชนในยุคดิจิทัล” เป็นนโยบายสำคัญเพื่อให้เกิดระบบการปฏิบัติการที่สามารถ
รองรับสภาพปัญหาเด็กและเยาวชนทั้งที่มีในปัจจุบัน รวมถึงความท้าทายและภัยคุกคามใหม่ ๆ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพให้แก่บุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัล และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อวางแผนงานเชิงกลยุทธ์เชิงรุกที่สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ต่อไป

……………………………………………………………………….

กลุ่มประชาสัมพันธ์ โทร. 0-2651-6834,0-22555-850-7 ต่อ 134,169,170
กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)


Share:



หากท่านพบเห็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับทางเทคโนโลยี สามารถแจ้งเบาะแสได้ผ่านทางแอปพลิเคชั่น Rootan

❗️❗️หากท่านพบเห็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับทางเทคโนโลยี 📲📲สามารถแจ้งเบาะแสได้ผ่านทางแอปพลิเคชั่น Rootan ของศูนย์สืบสวนไซเบอร์ กองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำหรับขั้นตอนการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น รู้ทัน : Rootan ท่านสามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง App Store และ Play Store ผ่านทางลิงค์ https://rootan.dsi.go.th/download

           ดีเอสไอ แจ้งประชาชนสามารถเข้า App รู้ทัน : Rootan ได้ทั้ง App Store และ Play Store #DSI_PRตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยศูนย์สืบสวนไซเบอร์ กองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ได้แจ้งเตือนประชาชนว่าตั้งแต่ห้วงเดือนพฤศจิกายนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา พบว่ามีกลุ่มมิจฉาชีพส่ง SMS หลอกเป็นธนาคารให้ประชาชนหลงเชื่อ ส่งข้อมูลส่วนตัว และนำไปสมัครใช้บริการแอปพลิเคชั่น mobile banking โดยมิจฉาชีพจะโอนเงินออกจากบัญชีนั้นทันที

           ปัจจุบัน ธนาคารแต่ละแห่ง ได้มีการปรับปรุงระบบในการสมัครแอปพลิเคชั่น mobile banking รูปแบบใหม่ โดยมีระบบให้สามารถป้องกัน เพื่อไม่ให้มิจฉาชีพใช้วิธีดังกล่าวได้ กลุ่มมิจฉาชีพจึงปรับเปลี่ยนวิธีการหลอกเป็นการส่งข้อความ SMS อ้างว่าเป็นธนาคาร พร้อมลิงค์เว็บไซต์ที่สร้างขึ้น โดยเว็บไซต์ดังกล่าวจะตั้งชื่อให้ใกล้เคียงกับชื่อเว็บไซต์ของธนาคารจริง และมีหน้าเว็บไซต์เหมือนกับ Internet Banking จริงของธนาคาร เพื่อหลอกให้ประชาชนที่ได้รับข้อความนั้น กรอก username password และรหัส OTP โดยเมื่อมิจฉาชีพได้ข้อมูลไปแล้ว ก็จะโอนเงินออกจากบัญชีทันที ซึ่งปัจจุบันมีผู้ได้รับความเสียหายจากกรณีดังกล่าวแล้วหลายราย

           กรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงขอย้ำเตือนให้ประชาชนใช้ความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการกดเข้าลิงค์เว็บไซต์ ซึ่งส่งมาพร้อมกับข้อความ SMS ที่อ้างตนเป็นธนาคารโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับเงิน ในบัญชีของท่าน หากมีข้อสงสัยให้ตรวจสอบกับธนาคารเจ้าของบัญชีโดยตรง

           ทั้งนี้ หากท่านพบเห็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับทางเทคโนโลยี สามารถแจ้งเบาะแสได้ผ่านทางแอปพลิเคชั่น Rootan ของศูนย์สืบสวนไซเบอร์ กองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำหรับขั้นตอนการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น รู้ทัน : Rootan ท่านสามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง App Store และ Play Store“ รู้ทัน แจ้งไว เตือนภัยไซเบอร์ “หากท่านพบเห็นการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สามารถแจ้งข้อมูลเบาะแสผ่านแอปพลิเคชัน “รู้ทัน : Rootan” ของศูนย์สืบสวนไซเบอร์ กองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)สำหรับขั้นตอนการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน รู้ทัน : Rootan ผ่านทางลิงค์ https://rootan.dsi.go.th/downloadhttps://www.dsi.go.th/…/1e59ca7364cd8deed6063efbd881ab93

 

ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ#LIKE#DSI#กรมสอบสวนคดีพิเศษ #@DSI 2002 #DSINews#Intagram #DSI_PR #Twitter #DSI_PR #Youtube#DSI_PR :#ประชาสัมพันธ์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรมติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผ่าน ช่องทาง ได้แก่1.www.dsi.go.th2.Facebook :DSI News :https://www.facebook.com/DSI-News-711915548824553/?ref=bookmarks3.Facebook :กรมสอบสวนคดีพิเศษ :https://www.facebook.com/DSI2002/?ref=bookmarks4.Intagram :Dsi_thailand :https://instagram.com/dsi_thailand?igshid=7a353mca4mvb5.Twitter :DSI_PR :https://twitter.com/DSI_PR6.Youtube :DSI_PR :ประชาสัมพันธ์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม:https://www.youtube.com/channel/UCM5mQqo4wv7wWhcy-6dA8Cg

Cr.รูปภาพโดยธนาคารกรุงไทย


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial